วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

45 Collape


เป็นผลงานในขั้น Final ที่นำเอาแนวคิดมาจากการพับกระดาษในขั้นตอนช่วงต้นๆ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการใช้เรื่องของมุมกล้องมาทำให้งานดูน่าสนใจ โดยในแต่ละนาที จะมีการปะทะกันของนักเตะทั้ง2ฝ่าย ซึ่งมีลูกฟุตบอลเป็นแกนหลัก โดยที่จะมีการปะทะเพียงแค่นักเตะที่ครองลูก กับนักตะฝั่งตรงข้ามที่เข้ามาปะทะเพื่อแย่งลูก โดยการป่ะทะก็จะเกิดจังหวะและตัวเลขที่สามารถบอกคนดูให้นึกถึงความเป็นฟุตบอล โดยผ่านงานออกแบบ


Package CD : 45Collape

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงของsequenceของทั้ง2ทีม ในการแข่งขันฟุตบอล2

สุดท้ายก็ได้นำแนวคิดของการพับกระดาษในครั้งแรกๆ ที่มีความแตกต่างของน้ำหนักและจังหวะที่เปลี่ยนไปตามเวลาการแข่งขัน
แต่ครั่งนี้ก็ได้ลองนำแนวคิดเรื่องมุมกล้องมาใช้ในงานนี้ ซึ่งก็ทำให้เห็น sequence ในหลายๆelement

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงของsequenceของทั้ง2ทีม ในการแข่งขันฟุตบอล

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ sequence ในการเล่นฟุตบอล พบว่า เกิดระบบทั้งหมด2ระบบใหญ่จากการแข่งขันขอทีม2ทีม โดยแบ่งได้เป็น 22 ระบบย่อยๆโดยที่22ระบบนี้เกิดจาก นักเตะในสนามทั้ง 22 คน ที่มีsequence ของตัวเอง โดยที่แต่ละนาที sequence ของระบบการเล่นที่เกิดขึ้น ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจากการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเองทำให้เกิดการปะทะ การตั้งรับ การเดินเกมบุก ซึ่งข้อมูลจากภาพนิ่งทั้งหมดที่ได้มา ก็ได้มาทดลองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาแต่ละนาทีของการแข่งขัน ทำให้พบว่าระบบของทั้งสองทีม เกิดการตอบสนองของนักตะและความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ทีมที่บุกกับทีมที่กำลังตั้งรับก็สามารถเห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จึงเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงระบบของทั้ง2ทีม ซึ่งมีเวลามาเป็นตัวแปรของการทดลองนี้ ซึ่งในครั้งนี้เรื่องความเชื่อมโยงจึงไม่นำมาใช้ เพราะว่าแค่นี้เราก็สามารถเห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองซึ่งกันและกันในการเล่นฟุตบอลของทั้งสองทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามหาคำตอบมาในหลายๆสัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของsequence ในการแข่งขันฟุตบอล1เกม

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ sequence ในการเล่นฟุตบอล พบว่า เกิดระบบทั้งหมด2ระบบใหญ่จากการแข่งขันขอทีม2ทีม โดยแบ่งได้เป็น 22 ระบบย่อยๆโดยที่22ระบบนี้เกิดจาก นักเตะในสนามทั้ง 22 คน ที่มีsequence ของตัวเอง โดยที่แต่ละนาที sequence ของระบบการเล่นที่เกิดขึ้น ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจากการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเองทำให้เกิดการปะทะ การตั้งรับ การเดินเกมบุก ซึ่งข้อมูลจากภาพนิ่งทั้งหมดที่ได้มา ก็ได้มาทดลองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาแต่ละนาทีของการแข่งขัน ทำให้พบว่าระบบของทั้งสองทีม เกิดการตอบสนองของนักตะและความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ทีมที่บุกกับทีมที่กำลังตั้งรับก็สามารถเห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จึงเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงระบบของทั้ง2ทีม ซึ่งมีเวลามาเป็นตัวแปรของการทดลองนี้ ซึ่งในครั้งนี้เรื่องความเชื่อมโยงจึงไม่นำมาใช้ เพราะว่าแค่นี้เราก็สามารถเห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองซึ่งกันและกันในการเล่นฟุตบอลของทั้งสองทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามหาคำตอบมาในหลายๆสัปดาห์

[URL=http://s236.photobucket.com/albums/ff249/beckies23/?action=view¤t=Web-Sequence.flv][IMG]http://i236.photobucket.com/albums/ff249/beckies23/th_Web-Sequence.jpg[/IMG][/URL]

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน6.1 )

หลังจากได้ข้อสรุปในการทำงานแล้ว งานในครั้งนี้จึงได้ลองพัฒนางานออกแบบ ให้ดูน่าสนใจ โดยได้มีการใช้มุมกล้องในหลายๆมุม เสมือนอยู่ตามจุดต่างๆของสนาม ซึ่งได้ทดลองทั้งมุมจากคนดูรอบๆสนามและมุมจากตัวนักเตะที่อยู่ในสนามเอง เพื่อให้เห็นsequenceที่เกิดขึ้นในหลายๆมุม



วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน6 )

หลังจากที่ได้ศึกษาการทดลองคราวที่แล้วพบว่า ในเกมฟุตบอลมันมีทิศทางของแต่ละทีม เพราะต่างฝ่ายต่างต้องเข้าไปทำประตูฝ่ายตรงข้าม ฉะนั้นไดอะแกรมที่เกิดขึ้นในแต่ละจังหวะ ควรเป็นจังหวะในลักษณะการปะทะกัน คือวิ่งสวนทางกัน ซึ่งงานคราวก่อนจะเป็นในลักษณะขนาน ซึ่งไม่ตอบโจทย์นัก งานทดลองครั้งนี้จึงลงไปที่ time base media ซึ่งสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องกว่า

ผลงานทดลองที่1 ได้ทดลองสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของเส้นในยริเวณต่างๆ ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเวลาในการเล่น



ผลงานทดลองที่2 ได้ทดลองการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยลองเลือกช่วงเวลาหนึ่งของเหตุการณ์มาทดสอบ เพื่อบอกระยะทางความเชื่ิอมโยงภายในทีม ซึ่งยังคงใช้เรื่องของการวิ่งสวนทางในแต่ละทีม โดยผลที่ได้มาก็ทำให้เห็นว่า "เราไม่เห็นเส้นระยะที่เกิด แต่เราสามารถรู้สึกถึงระยะที่เกิดในนักเตะแต่ละคนได้"

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน5 )

ทดลองออกแบบจากระยะทางที่ได้จากเวลาใน90นาที
ผลงานทดลองชิ้นที่1


จากการทดลองชิ้นแรกได้ลองพับกระดาษโดยอาศัยระยะความห่างของนักเตะ โดยทำจนครบ90นาที โดยครึ่งบนจะเป็นทีมแมนยู(สีแดง) และครึ่งล่างจะเป็นทีมเชลซี(สีน้ำเงิน) โดยการเรียงจะอาศัยเรื่องของเวลาในการแขงขันเข้ามาใช้ ซึ่งแถบทั้งสองที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระนาบของเวลาในช่วงต่างๆ ที่เป็นแนวเดียวกันไปตลอดจนครบ90นาที ซึ่งจากการทดลองทำให้เห็นความแตกต่างของแถบสีและการพับในแต่ละทีมและในแต่ละเวลาที่ดำเนินไป


ผลงานทดลองชิ้นที่2



ลองทำในมุมมองลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยนำฟอร์มของแถบที่เกิดขึ้นในทั้งสองทีมมาอยู่ติดกัน โดยแบ่งระยะเวลาโดยการพับเป็นหน้าๆ จนครบ90นาที โดยการทดลองอันนี้ได้นำความยาวของระยะทางทั้งหมดที่เกิดจากระยะทางของนักเตะมาใช้