วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พัฒนาผลงานเรื่องจำนวนเฉพาะโดยอาศัยเรื่องฟุตบอลเข้ามาเกี่ยวข้อง

หลังจากที่ได้ศึกษาไดอะแกรมที่เกิดจากจำนวนเฉพาะบนตำแหน่งของแผนการเล่นของทีมฟุตบอล เลยได้ลองทำกระดานและการ์ดตัวเลขขึ้นมา
เพื่อที่จะศึกษาเรื่องระบบของจำนวนเฉพาะที่เกิดจากการวางแผนการเล่นของทีมฟุตบอลทีมต่างๆ


โดยหลังจากที่ได้ลองวางระบบแผนการเล่นในรูปแบบต่างๆโดยอาศัยข้อมูลจริง ทำให้เห็นไดอะแกรมที่เกิดขึ้นระหว่างการ์ดสีแดงในแต่ละใบ
โดยที่การ์ดแต่ละใบนั้นมีสัดส่วนของระยะทางระหว่างการ์ดแต่ละใบที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่
ซึ่งภายหลังได้เกิดความคิดที่ว่า จะนำมาใช้เกี่ยวกับหนังสืออย่างไร ซึ่งในตอนแรกคิดจะทำจากหนังสือเป็นรูปแบบไดอะแกรมที่เห็นเลย แต่พอมาคิดๆดูคิดว่าถ้าเรานำเอาสัดส่วนของกระดาษที่สัมพันธ์กับสัดส่วนของการ์ดที่เป็นจำนวนเฉพาะ น่าจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า คือเหมือนกับนำไดอะแกรมในขั้นแรกที่เป็นรูปแบบต่างๆ มาปรับระบบใหม่เป็นในแนวนอน ซึ่งยังคงสัดส่วนและระยะไว้อย่างเท่าเดิม

จากภาพจะเป็นการใช้ระบบที่ได้มาทำเป็นกระดาษในแต่ละหน้า โดยโครงสร้างนั้นจะเปลี่ยนไปตามระบบในแต่ละทีมที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของตำแหน่งของจำนวนเฉพาะ โดยได้ทดลองใช้ทีมฟุตบอลทั้งหมด 4 ทีม คือ Man-U , Arsenal , Liverpool , Chesea



วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จำนวนเฉพาะกับกีฬาฟุตบอล

เรื่องของตัวเลขที่มีส่วนกับกีฬาฟุตบอล จะอยู่ในส่วนของเบอร์เสื้อนักเตะ โดยที่นำเอาระบบแผนการเล่นที่เป็นสากลมาใช้
ซึ่งตัวเองสนใจในไดอะแกรมของระบบแผนการเล่นของฟุตบอล ซึ่งมีหลายแบบ ซึ่งในแต่ละทีม นักเตะแต่ละคน
ก็จะใช้เบอร์และตำแหน่งการยืนที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดความหลากหลายของจำนวนเฉพาะ ที่อยู่ในแต่จะพื้นที่ ที่แตกต่างกันออกไป
และมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ก็คือนักเตะที่มีชื่อเสียงมักสวมเสื้อที่ใช้หมายเลขหลังเสื้อ เป็นจำนวนเฉพาะ เช่น 23 : David Beckham
7 : Christiano Ronaldo , 11 : Ryan Giggs , 13 : เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จำนวนเฉพาะกับเลขหน้าในหนังสือ

หลังจากที่ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของจำนวนเฉพาะ ทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการเป็นหนังสือ
ซึ่งสิ่งได้มานั้นก็คือ วิธีการใช้หนังสือของคนเราที่จะมีเลขหน้ากำกับอยู่ โดยเลขหน้าในหนังสือนี่เองที่สามารถบอกความเป็นจำนวนเฉพาะได้
ก็เพราะจำนวนเฉพาะนั้นได้ถูกแบ่งระบบมาจากจำนวนเต็มบวกนี่เอง โดยที่อริสโตเติลได้แบ่งจำนวนเต็มบวกออกมาเป็น2ลักษณะคือ
1.จำนวนเฉพาะ 2.จำนวนประกอบ ซึ่งได้ลองทำตาราง100ช่อง ที่ประกอบไปด้วยตัวเลขตั้งแต่ 1-100 ซึ่งในแต่ละหน้าก็จะมีตาราง100ช่อง
อยู่ในทุกๆหน้า และตัวเลขหน้านี่เองที่จะเป็นตัวบอกถึงจำนวนเฉพาะที่จะเกิดขึ้นโดยการเจาะช่องในตาราง100ช่อง เช่น ถ้าเราเปิดไปที่หน้า5 ก็จะเกิดจำนวนเฉพาะ 5ตัวแรก ที่เจาะเป็นช่องไว้ทั้งหมด5ช่อง โดยทั้งหมดนี้จะแปรผันไปตามเลขหน้า ซึ่งพออยู่ในรูปแบบที่เป็นเล่มแล้วจะเกิดจังหวะและการซ้อนทับกันของช่องในแต่ละหน้า




จากตัวอย่างจะเห็นว่าเลขหน้าที่ 10และเลขหน้าที่20 เกิดรูปแบบของช่องที่เจาะ(บริเวณสีดำ) ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดก็เกิดจากการใช้จำนวนเฉพาะทั้งสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

โครงการออกแบบ : คู่มือสำหรับการทำหนังสือ1เล่ม

1. สื่อที่ใช้ในการออกแบบ
หนังสือ หรือ แผ่นพับ

2.ที่มาและความสำคัญของโครงการออกแบบ
เพื่อเป็นการศึกษาเรื่อง sequence โดยอาศัยเรื่องของจำนวนเฉพาะเข้ามาใช้
ซึ่งได้ไปพบกับคำว่า "คู่มือ" จึงสนใจในคำๆนี้ โดยที่หนังสือ นั้นมีความเป็น sequence
อยู่ในตัว ซึ่งในโปรเจคนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่ทำเรื่องหนังสือ จึงคิดอยากจะทำให้หนังสือกลายเป็น sub-sequence
โดยใช้ " คู่มือการทำหนังสือ " โดยที่คู่มือในแต่ละหน้าจะมีข้อใหญ่ๆเป็นช่องๆ และในแต่ละช่องก็จะมีข้อย่อยๆลงไปอีก
ซึ่งคิดว่าสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ในโครงการนี้ได้

3.วัตถุประสงค์ของโครงการออกแบบ
3.1) ศึกษาและเกิดความเข้าใจในเรื่อง sequence
3.2) ศึกษาเรื่องของจำนวนเฉพาะเพื่อการจัดลำดับ โดยสามารถทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ดี
3.3) ใช้เรื่องคู่มือ มาเป็นตัวสื่อสาร
3.4) เพื่อเป็นการเล่นกับโปรเจคของเพื่อนๆภายในชั้นเรียนแต่ก็ยังใช้เรื่องของ sequence เหมือนกัน

4.ขอบเขตของโครงการออกแบบ
ขอบเขตที่ใช้ในโครงการนี้จะอยู่ในกรอบของการใช้จำนวนเฉพาะ โดยอาศับข้อมูลของระบบในตัวหนังสือ1เล่ม ว่ามีระบบอบ่างไร

5.แผนการดำเนินงานโครงการ
5.1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องจำนวนเฉพาะ และระบบของหนังสือ
5.2) วิเคราห์ข้อมูลและกรั่นกรอง
5.3) นำเสนอแบบร่างของโครงการ "คู่มือสำหรับการทำหนังสือ1เล่ม"
5.3) นำเสนอผลงานใกล้เคียงจริง เพื่อนำมาพัฒนาและแก้ไขต่อไป
5.4) นำผลงานมาแก้ไขให้ลงตัวและเหมาะสม
5.6) ส่งผลงานขั้นสุดท้าย

6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1) ได้เรียนรู้และเข้าใจในระบบของ "คู่มือ" โดยผ่านเรื่องของจำนวนเฉพาะ
6.2) เกิดความน่าสนใจและสามารถรับรู้ได้ไปในทางเดียวกัน

7.เอกสารอ้างอิง
สามารถอ้างอิงจากสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันที่อยู่ในรูปของคู่มือ (Manual)