วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

45 Collape


เป็นผลงานในขั้น Final ที่นำเอาแนวคิดมาจากการพับกระดาษในขั้นตอนช่วงต้นๆ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการใช้เรื่องของมุมกล้องมาทำให้งานดูน่าสนใจ โดยในแต่ละนาที จะมีการปะทะกันของนักเตะทั้ง2ฝ่าย ซึ่งมีลูกฟุตบอลเป็นแกนหลัก โดยที่จะมีการปะทะเพียงแค่นักเตะที่ครองลูก กับนักตะฝั่งตรงข้ามที่เข้ามาปะทะเพื่อแย่งลูก โดยการป่ะทะก็จะเกิดจังหวะและตัวเลขที่สามารถบอกคนดูให้นึกถึงความเป็นฟุตบอล โดยผ่านงานออกแบบ


Package CD : 45Collape

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงของsequenceของทั้ง2ทีม ในการแข่งขันฟุตบอล2

สุดท้ายก็ได้นำแนวคิดของการพับกระดาษในครั้งแรกๆ ที่มีความแตกต่างของน้ำหนักและจังหวะที่เปลี่ยนไปตามเวลาการแข่งขัน
แต่ครั่งนี้ก็ได้ลองนำแนวคิดเรื่องมุมกล้องมาใช้ในงานนี้ ซึ่งก็ทำให้เห็น sequence ในหลายๆelement

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงของsequenceของทั้ง2ทีม ในการแข่งขันฟุตบอล

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ sequence ในการเล่นฟุตบอล พบว่า เกิดระบบทั้งหมด2ระบบใหญ่จากการแข่งขันขอทีม2ทีม โดยแบ่งได้เป็น 22 ระบบย่อยๆโดยที่22ระบบนี้เกิดจาก นักเตะในสนามทั้ง 22 คน ที่มีsequence ของตัวเอง โดยที่แต่ละนาที sequence ของระบบการเล่นที่เกิดขึ้น ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจากการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเองทำให้เกิดการปะทะ การตั้งรับ การเดินเกมบุก ซึ่งข้อมูลจากภาพนิ่งทั้งหมดที่ได้มา ก็ได้มาทดลองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาแต่ละนาทีของการแข่งขัน ทำให้พบว่าระบบของทั้งสองทีม เกิดการตอบสนองของนักตะและความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ทีมที่บุกกับทีมที่กำลังตั้งรับก็สามารถเห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จึงเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงระบบของทั้ง2ทีม ซึ่งมีเวลามาเป็นตัวแปรของการทดลองนี้ ซึ่งในครั้งนี้เรื่องความเชื่อมโยงจึงไม่นำมาใช้ เพราะว่าแค่นี้เราก็สามารถเห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองซึ่งกันและกันในการเล่นฟุตบอลของทั้งสองทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามหาคำตอบมาในหลายๆสัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของsequence ในการแข่งขันฟุตบอล1เกม

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ sequence ในการเล่นฟุตบอล พบว่า เกิดระบบทั้งหมด2ระบบใหญ่จากการแข่งขันขอทีม2ทีม โดยแบ่งได้เป็น 22 ระบบย่อยๆโดยที่22ระบบนี้เกิดจาก นักเตะในสนามทั้ง 22 คน ที่มีsequence ของตัวเอง โดยที่แต่ละนาที sequence ของระบบการเล่นที่เกิดขึ้น ก็จะเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจากการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเองทำให้เกิดการปะทะ การตั้งรับ การเดินเกมบุก ซึ่งข้อมูลจากภาพนิ่งทั้งหมดที่ได้มา ก็ได้มาทดลองทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเวลาแต่ละนาทีของการแข่งขัน ทำให้พบว่าระบบของทั้งสองทีม เกิดการตอบสนองของนักตะและความสอดคล้องซึ่งกันและกัน ทีมที่บุกกับทีมที่กำลังตั้งรับก็สามารถเห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการทดลองครั้งนี้จึงเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงระบบของทั้ง2ทีม ซึ่งมีเวลามาเป็นตัวแปรของการทดลองนี้ ซึ่งในครั้งนี้เรื่องความเชื่อมโยงจึงไม่นำมาใช้ เพราะว่าแค่นี้เราก็สามารถเห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลง การตอบสนองซึ่งกันและกันในการเล่นฟุตบอลของทั้งสองทีม ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามหาคำตอบมาในหลายๆสัปดาห์

[URL=http://s236.photobucket.com/albums/ff249/beckies23/?action=view¤t=Web-Sequence.flv][IMG]http://i236.photobucket.com/albums/ff249/beckies23/th_Web-Sequence.jpg[/IMG][/URL]

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน6.1 )

หลังจากได้ข้อสรุปในการทำงานแล้ว งานในครั้งนี้จึงได้ลองพัฒนางานออกแบบ ให้ดูน่าสนใจ โดยได้มีการใช้มุมกล้องในหลายๆมุม เสมือนอยู่ตามจุดต่างๆของสนาม ซึ่งได้ทดลองทั้งมุมจากคนดูรอบๆสนามและมุมจากตัวนักเตะที่อยู่ในสนามเอง เพื่อให้เห็นsequenceที่เกิดขึ้นในหลายๆมุม



วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน6 )

หลังจากที่ได้ศึกษาการทดลองคราวที่แล้วพบว่า ในเกมฟุตบอลมันมีทิศทางของแต่ละทีม เพราะต่างฝ่ายต่างต้องเข้าไปทำประตูฝ่ายตรงข้าม ฉะนั้นไดอะแกรมที่เกิดขึ้นในแต่ละจังหวะ ควรเป็นจังหวะในลักษณะการปะทะกัน คือวิ่งสวนทางกัน ซึ่งงานคราวก่อนจะเป็นในลักษณะขนาน ซึ่งไม่ตอบโจทย์นัก งานทดลองครั้งนี้จึงลงไปที่ time base media ซึ่งสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องกว่า

ผลงานทดลองที่1 ได้ทดลองสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของเส้นในยริเวณต่างๆ ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเวลาในการเล่น



ผลงานทดลองที่2 ได้ทดลองการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยลองเลือกช่วงเวลาหนึ่งของเหตุการณ์มาทดสอบ เพื่อบอกระยะทางความเชื่ิอมโยงภายในทีม ซึ่งยังคงใช้เรื่องของการวิ่งสวนทางในแต่ละทีม โดยผลที่ได้มาก็ทำให้เห็นว่า "เราไม่เห็นเส้นระยะที่เกิด แต่เราสามารถรู้สึกถึงระยะที่เกิดในนักเตะแต่ละคนได้"

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน5 )

ทดลองออกแบบจากระยะทางที่ได้จากเวลาใน90นาที
ผลงานทดลองชิ้นที่1


จากการทดลองชิ้นแรกได้ลองพับกระดาษโดยอาศัยระยะความห่างของนักเตะ โดยทำจนครบ90นาที โดยครึ่งบนจะเป็นทีมแมนยู(สีแดง) และครึ่งล่างจะเป็นทีมเชลซี(สีน้ำเงิน) โดยการเรียงจะอาศัยเรื่องของเวลาในการแขงขันเข้ามาใช้ ซึ่งแถบทั้งสองที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระนาบของเวลาในช่วงต่างๆ ที่เป็นแนวเดียวกันไปตลอดจนครบ90นาที ซึ่งจากการทดลองทำให้เห็นความแตกต่างของแถบสีและการพับในแต่ละทีมและในแต่ละเวลาที่ดำเนินไป


ผลงานทดลองชิ้นที่2



ลองทำในมุมมองลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยนำฟอร์มของแถบที่เกิดขึ้นในทั้งสองทีมมาอยู่ติดกัน โดยแบ่งระยะเวลาโดยการพับเป็นหน้าๆ จนครบ90นาที โดยการทดลองอันนี้ได้นำความยาวของระยะทางทั้งหมดที่เกิดจากระยะทางของนักเตะมาใช้

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน4 )

หลังจากที่ได้ลองนำเรื่องเวลาในการเล่นฟุตบอลเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้มองเห็น sequence ในลักษณะที่เปลียนแปลงไปตามระบบของเวลา
Sequence เกิดการเคลื่อนที่ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ได้ดูการถ่ายทอดสดฟุตบอล ซึ่งผู้จัดการทีมก็ใช้ระบบการเล่นที่วางไว้ แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของนักเตะ จึงทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของระยะsequence ในทีม โดยนักเตะก็จะอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ผู้จัดการทีมวางแผนการเล่นไว้ให้
ระบบแผนการเล่นจึงเป็นเหมือนแนวทางในการเล่นโดยรวมมากกว่า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวว่านักเตะคนนี้จะต้องเล่นอยู่ฝั่งนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์และสถานการณ์ที่เกิดในช่วงเวลานั้นๆมากกว่า
โดยขณะที่ได้ดูฟุตบอลนั้นก็ได้เห็นเพียง Sequence แค่ส่วนๆหนึ่ง เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกล้อง ซึ่งทำให้คิดว่าเราน่าจะสามารถเห็นระยะ Sequence ได้ทั้งหมด และได้ระยะทางที่แน่นอน จึงได้ไปพบกับเกมส์จำลองสถานการณ์ของการจัดการทีมฟุตบอล เลยคิดว่าจะนำส่วนนี้เข้ามาใช้ โดยที่ในตัวเกมนั้นเราจะสามารถมองเห็นภาพทั้งสนามเป็นมุมมอง90องศา ซึ่งเราก็จะสามารถวัดระยะในนักเตะแต่ละคนได้ จากนั้นได้ลองจับภาพในช่วงเวลาต่างๆใน90 นาทีของการแข่งขัน
ในขั้นตอนการทดลองก็เหมือนเป็นการยืมเรื่อง Random เข้ามาใช้ เพราะเราไม่สามารถรู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จนเมื่อเรานำข้อมูลจากเหตุการณ์ที่ได้มาจัดระบบขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างงาน sequence ขึ้นมานั่นเอง



วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน3 )

หลังจากที่ได้ลองคิดเรื่องระบบในตอนืี่2มาพอสมควร จึงมาคิดว่าเรื่องนี้น่าจะขยายขอบเขตไปได้อีก โดยอาศัยผู้ช่วยเบิร์ด
มาช่วยกันขยายขอบเขตของเรื่องนี้ โดยหลังจากที่ได้ลองวิเคราะห์ไดอะแกรมที่เกิดจากความเชื่อมโยงของตัวเลขกับแผนการเล่น
ซึ่งทำให้เห็นว่าไดอะแกรมนั้นมันเป็นไดอะแกรมที่อยู่ในช่วงก่อนการแข่งขันและอาจจะอยู่ในเพียงบางช่วงของการแข่งขันด้วยซ้ำ
ซึ่งลองมานั่งคิดถึงขอบเขตของฟุตบอล จึงได้เรื่องของระยะเวลาในการแข่งขัน ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้นึกถึงไดอะแกรมที่จะเปลี่ยนไป
เมื่ออยู่ในระหว่างการแข่งขัน เช่น 1. ทีมA ได้ลูกเตะมุม ลักษณะไดอะแกรมก็จะอยู่กันเป็นกระจุก 2.เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม
ผู้เล่นใหม่ที่ลงมาแทน จะทำให้ความเชื่อมโยงเดิมถูกเปลี่ยนทันที หน้าตาของไดอะแกรมก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
ซึ่งตรงจุดนี้เองเลยกลับมามองที่เวลาของการเล่นฟุตบอล ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ ครึ่งแรก 45 นาที พักครึ่งแรก 15 นาที ครึ่งหลังอีก 45 นาที ( อาจมีทดเวลาบาดเจ็บแล้วแต่กรณี ) ซึ่งตรงส่วนนี้ ก็เป็นการแบ่งเวลาในเกมฟุตบอล ซึ่งผมก็ลองมามองดูนาฬิกาซึ่งเดินเป็นวงกลม โดยที่ในเกม1เกมการแข่งขันเข็มยาวก็จะหมุนทั้งหมด2รอบนับจากจุดเริ่มต้น จึงคิดว่าถ้าเราสามารถบอกความแตกต่างของสัดส่วนของไดอะแกรมในแต่ละนาที โดยที่อยู่บนพื้นฐานการเดินของนาฬิกาแบบเข็ม เราอาจจะได้ความสมบูรณ์ในเกมฟุตบอล1เกมขึ้นมาก็ได้

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน2 )

ถ้าเกิดมีการแข่งขันกันขึ้นโดยทั้ง2ทีมก็ใช้แผนการเล่นของตัวเองจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก๋ได้นำระบบการเล่นของทั้งสองทีมมายืนในตำแหน่งของตัวเอง
โดยทั้งสองทีมจะอยู่คนละด้านของสนาม



หลังจากที่ได้ทดลองวางตำแหน่งในสนามฟุตบอลของทั้งสองทีมทำให้ได้พบว่า มีการประกบตัวผู้เล่นซึ่งกันและกันตามตำแหน่งของผู้เล่นนั้นๆ
เช่นตำแหน่งปีกซ้ายของทีมแมนยู ในตลอดทั้งเกมการเล่นก็จะต้องเจอกับผู้เล่นปีกขวาจากทีมเชลซีมากกว่าผู้เล่นคนอื่น เนื่องจากอยู่ในระยะใกล้กันมากกว่า ซึ่งข้อมูลที่ได้มาก็จะนำไปคิดต่อเพื่อตอบเรื่องไดอะแกรมที่ได้ในทีมทั้งสองทีม โดยในการโพสครั้งนี้ก็ได้เรื่องตำแหน่งการปะทะของตัวผู้เล่นของทั้งสองทีมเพิ่มมา

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล

หลังจากที่ได้ลองทำเรื่องระบบแผนการเล่นฟุตบอลกับจำนวนเฉพาะมาพอสมควร เลยคิดว่าในทีม1ทีมมีผู้เล่น11คน เพราะฉะนั้นถ้าเรามามัวแต่สนใจเรื่องจำนวนเฉพาะอย่างเดียวอาจทำให้เรื่องของความสมบูรณ์ในทีม1ทีม นั้นหายไป เลยคิดว่าจะใช้เรื่องของความเขื่อมโยงที่มีเรื่องของระยะทางระหว่างตัวเลขและตำแหน่งการยืนมาใช้เหมือนเดิม โดยที่ในตอนนี้จะครอบคลุมผู้เล่นทั้งทีม

จากภาพเป็นไดอะแกรมความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอลแมนยูและเชลซี




และหลังจากนั้นได้ลองนึกถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสนาม ก็ได้พบว่าสนามมีที่นั่งคนดูทั้งหมด4ด้าน ซึ่งก็ได้ลองจำลองภาพที่เกิดจากการมองในทิศต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พัฒนาผลงานเรื่องจำนวนเฉพาะโดยอาศัยเรื่องฟุตบอลเข้ามาเกี่ยวข้อง

หลังจากที่ได้ศึกษาไดอะแกรมที่เกิดจากจำนวนเฉพาะบนตำแหน่งของแผนการเล่นของทีมฟุตบอล เลยได้ลองทำกระดานและการ์ดตัวเลขขึ้นมา
เพื่อที่จะศึกษาเรื่องระบบของจำนวนเฉพาะที่เกิดจากการวางแผนการเล่นของทีมฟุตบอลทีมต่างๆ


โดยหลังจากที่ได้ลองวางระบบแผนการเล่นในรูปแบบต่างๆโดยอาศัยข้อมูลจริง ทำให้เห็นไดอะแกรมที่เกิดขึ้นระหว่างการ์ดสีแดงในแต่ละใบ
โดยที่การ์ดแต่ละใบนั้นมีสัดส่วนของระยะทางระหว่างการ์ดแต่ละใบที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่
ซึ่งภายหลังได้เกิดความคิดที่ว่า จะนำมาใช้เกี่ยวกับหนังสืออย่างไร ซึ่งในตอนแรกคิดจะทำจากหนังสือเป็นรูปแบบไดอะแกรมที่เห็นเลย แต่พอมาคิดๆดูคิดว่าถ้าเรานำเอาสัดส่วนของกระดาษที่สัมพันธ์กับสัดส่วนของการ์ดที่เป็นจำนวนเฉพาะ น่าจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า คือเหมือนกับนำไดอะแกรมในขั้นแรกที่เป็นรูปแบบต่างๆ มาปรับระบบใหม่เป็นในแนวนอน ซึ่งยังคงสัดส่วนและระยะไว้อย่างเท่าเดิม

จากภาพจะเป็นการใช้ระบบที่ได้มาทำเป็นกระดาษในแต่ละหน้า โดยโครงสร้างนั้นจะเปลี่ยนไปตามระบบในแต่ละทีมที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของตำแหน่งของจำนวนเฉพาะ โดยได้ทดลองใช้ทีมฟุตบอลทั้งหมด 4 ทีม คือ Man-U , Arsenal , Liverpool , Chesea



วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จำนวนเฉพาะกับกีฬาฟุตบอล

เรื่องของตัวเลขที่มีส่วนกับกีฬาฟุตบอล จะอยู่ในส่วนของเบอร์เสื้อนักเตะ โดยที่นำเอาระบบแผนการเล่นที่เป็นสากลมาใช้
ซึ่งตัวเองสนใจในไดอะแกรมของระบบแผนการเล่นของฟุตบอล ซึ่งมีหลายแบบ ซึ่งในแต่ละทีม นักเตะแต่ละคน
ก็จะใช้เบอร์และตำแหน่งการยืนที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดความหลากหลายของจำนวนเฉพาะ ที่อยู่ในแต่จะพื้นที่ ที่แตกต่างกันออกไป
และมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ก็คือนักเตะที่มีชื่อเสียงมักสวมเสื้อที่ใช้หมายเลขหลังเสื้อ เป็นจำนวนเฉพาะ เช่น 23 : David Beckham
7 : Christiano Ronaldo , 11 : Ryan Giggs , 13 : เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

จำนวนเฉพาะกับเลขหน้าในหนังสือ

หลังจากที่ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของจำนวนเฉพาะ ทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการเป็นหนังสือ
ซึ่งสิ่งได้มานั้นก็คือ วิธีการใช้หนังสือของคนเราที่จะมีเลขหน้ากำกับอยู่ โดยเลขหน้าในหนังสือนี่เองที่สามารถบอกความเป็นจำนวนเฉพาะได้
ก็เพราะจำนวนเฉพาะนั้นได้ถูกแบ่งระบบมาจากจำนวนเต็มบวกนี่เอง โดยที่อริสโตเติลได้แบ่งจำนวนเต็มบวกออกมาเป็น2ลักษณะคือ
1.จำนวนเฉพาะ 2.จำนวนประกอบ ซึ่งได้ลองทำตาราง100ช่อง ที่ประกอบไปด้วยตัวเลขตั้งแต่ 1-100 ซึ่งในแต่ละหน้าก็จะมีตาราง100ช่อง
อยู่ในทุกๆหน้า และตัวเลขหน้านี่เองที่จะเป็นตัวบอกถึงจำนวนเฉพาะที่จะเกิดขึ้นโดยการเจาะช่องในตาราง100ช่อง เช่น ถ้าเราเปิดไปที่หน้า5 ก็จะเกิดจำนวนเฉพาะ 5ตัวแรก ที่เจาะเป็นช่องไว้ทั้งหมด5ช่อง โดยทั้งหมดนี้จะแปรผันไปตามเลขหน้า ซึ่งพออยู่ในรูปแบบที่เป็นเล่มแล้วจะเกิดจังหวะและการซ้อนทับกันของช่องในแต่ละหน้า




จากตัวอย่างจะเห็นว่าเลขหน้าที่ 10และเลขหน้าที่20 เกิดรูปแบบของช่องที่เจาะ(บริเวณสีดำ) ที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งหมดก็เกิดจากการใช้จำนวนเฉพาะทั้งสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

โครงการออกแบบ : คู่มือสำหรับการทำหนังสือ1เล่ม

1. สื่อที่ใช้ในการออกแบบ
หนังสือ หรือ แผ่นพับ

2.ที่มาและความสำคัญของโครงการออกแบบ
เพื่อเป็นการศึกษาเรื่อง sequence โดยอาศัยเรื่องของจำนวนเฉพาะเข้ามาใช้
ซึ่งได้ไปพบกับคำว่า "คู่มือ" จึงสนใจในคำๆนี้ โดยที่หนังสือ นั้นมีความเป็น sequence
อยู่ในตัว ซึ่งในโปรเจคนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่ทำเรื่องหนังสือ จึงคิดอยากจะทำให้หนังสือกลายเป็น sub-sequence
โดยใช้ " คู่มือการทำหนังสือ " โดยที่คู่มือในแต่ละหน้าจะมีข้อใหญ่ๆเป็นช่องๆ และในแต่ละช่องก็จะมีข้อย่อยๆลงไปอีก
ซึ่งคิดว่าสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ในโครงการนี้ได้

3.วัตถุประสงค์ของโครงการออกแบบ
3.1) ศึกษาและเกิดความเข้าใจในเรื่อง sequence
3.2) ศึกษาเรื่องของจำนวนเฉพาะเพื่อการจัดลำดับ โดยสามารถทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ดี
3.3) ใช้เรื่องคู่มือ มาเป็นตัวสื่อสาร
3.4) เพื่อเป็นการเล่นกับโปรเจคของเพื่อนๆภายในชั้นเรียนแต่ก็ยังใช้เรื่องของ sequence เหมือนกัน

4.ขอบเขตของโครงการออกแบบ
ขอบเขตที่ใช้ในโครงการนี้จะอยู่ในกรอบของการใช้จำนวนเฉพาะ โดยอาศับข้อมูลของระบบในตัวหนังสือ1เล่ม ว่ามีระบบอบ่างไร

5.แผนการดำเนินงานโครงการ
5.1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเรื่องจำนวนเฉพาะ และระบบของหนังสือ
5.2) วิเคราห์ข้อมูลและกรั่นกรอง
5.3) นำเสนอแบบร่างของโครงการ "คู่มือสำหรับการทำหนังสือ1เล่ม"
5.3) นำเสนอผลงานใกล้เคียงจริง เพื่อนำมาพัฒนาและแก้ไขต่อไป
5.4) นำผลงานมาแก้ไขให้ลงตัวและเหมาะสม
5.6) ส่งผลงานขั้นสุดท้าย

6.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1) ได้เรียนรู้และเข้าใจในระบบของ "คู่มือ" โดยผ่านเรื่องของจำนวนเฉพาะ
6.2) เกิดความน่าสนใจและสามารถรับรู้ได้ไปในทางเดียวกัน

7.เอกสารอ้างอิง
สามารถอ้างอิงจากสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันที่อยู่ในรูปของคู่มือ (Manual)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สี กับการจัดลำดับ


ได้ไปพบเกี่ยวกับเรื่องวงจรสี ได้พบว่าสีก็มีการจัดเรียงลำดับ รุ้งกินน้ำก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งวงจรสีที่เราเห็น เกิดจากเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเกิดโดยละอองน้ำในอากาศถูกแสงอาทิตย์ส่องทำมุมจากด้านบนของเม็ดละอองน้ำ จึงทำให้เกิดการหักเหของแสงเกิดเป็นค่าสีต่างๆ
ต่อมา ตัวผมเองก็หาเรื่องลำดับสีที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้กำหนด จึงได้ไปพบกับวิธีการเล่น snooker และ Pool ซึ่งถ้าลองเล่นจนจบเกม แล้วจดบันทึกลูกที่เรายิงลงไปก็จะเกิดชุดสี และชุดตัวเลขขึ้นมา เป็นระบบหนึ่ง ต่อมาก็ได้ทดลองหาแต้มสูงสุดและแต้มที่ต่ำสุด ในการเล่นสนุ้กเกอร์ ก็ได้ผลดังภาพ ซึ่งชุดสีและชุดของตัวเลขก็จะต่างกัน คิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์ในด้านการออกแบบได้

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Moji Ball Package





เป็นผลงานที่ทำให้กับ Dunkin Donut เป็นถาดใส่ขนมชนิดใหม่ของดันกิ้นโดนัท ( โมจิบอล ) ออกแบบมาสำหรับเทศกาล Back to School
โดยตัวแพคเกจเน้นความเป็นเด็ก ใช้ลวดลายที่ง่ายๆ แต่ใช้สีแค่สีเดียว โดยเล่นน้ำหนักลวดลายให้ดูเหมือนว่ามีสองสี

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Puff& Pie Standy in Bitech Bangna



เป็นผลงานที่ทำให้กับ Puff & Pie

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Basic : รุกฆาต ปฎิบัติการลวงโลก



เป็นเรืื่องราวเกี่ยวกับทหารอเมริกันที่มีฐานทันอยู่ในประเทศปานามา โดยมีตัวละครที่มีชื่อว่า สิบเอก นาธาน เวสต์ เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกทหารประจำกองทัพ ซึ่งทหารที่เขาเกลียดขี้หน้ามากที่สุดก็คือ ไพค์ ซึ่งในเนื้อเรื่อง ไพค์ เป็นทหารผิวดำเพียงคนเดียวในกองทัพ โดยเนื้อเรื่องในช่วงแรก ก็จะเป็นการออกไปฝึกในป่าลึก แต่ภารกิจการฝึกครั้งนี้กลับมีทหารที่หายสาบสูญ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตกลับมาเพียงสองคน โดยทหารสองคนที่รอดชีวิตกลับมาได้
ก็ได้เล่าเหตุการ์ณว่าใครเป็นคนที่สังหาร ครูฝึก ( เวสต์ ) ซึ่งทหารสองคนนี้อยู่คนละสถานที่กันในช่วงของการสืบสวน โดยทหารทั้งสองคนกลับเล่าคำให้การแตกต่างการอย่างสิ้นเชิง แม้สุดท้ายแล้ว จะยังคงยอดผู้เสียชีวิตเอาไว้ห้าคน เท่ากับความเป็นจริง เท่ากับว่าตอนนี้มีข้อมูลอยู่ 2 ชุด ที่ต่างถูกเรียงไปเป็นคนละแบบ ซึ่งประเด็นของหนังในตอนนี้อาจจะอยู่ที่ว่า ใครฆ่าครูฝึก ซึ่งข้อมูลที่มีมากกว่าหนึ่งก็อาจจะทำให้คนดูคาดคะเนไปต่างๆนาๆ แต่สุดท้ายแล้ว ในตอนท้ายของเรื่องข้อมูลทุกอย่างที่ได้ตั้งคำถามกับคนดู กลับล้มล้างโดยสิ้นเชิง เมื่อข้อมูลที่ทหารสองคนให้การไว้ กลับเป็นเรื่องที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งในฉากสุดท้ายของเรื่อง เรากลับได้เห็นตัวละครทั้งหมดที่ถูกกล่าวว่าได้เสียชีวิตไปในการฝึก รวมกระทั้งนายทหารสองคนนั้น มานั่งกินเลี้ยงกันพร้อมน่าพร้อมตา ซึ่งสุดท้ายแล้วเรื่องที่ประติดประต่อมาตั้งแต่แรก ซึ่งดูเหมือนจะคลี่คลายได้ กลับพลิกไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ทำให้คนดูค่อนข้างอึ้งกับสิ่งที่ผู้กำกับหักมุมแบบสุดๆ ก็เหมือนกับการที่เรามีเลข 1-5 อยู่ 2 ชุด โดยแต่ละชุดก็มีวิธีการเรียงที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าเราจะเอาเลขชุดนี้มาบวกกันแบบใหน ผลลัพธ์มันก็จะได้ 15 เหมือนเดิมก็ถือว่าเป็น sequence แต่ท้ายเรื่อง ความเป็นsequenceที่ถูกสั่งสมมาตั้งแต่ต้นเรื่อง กลับถูกทำลายลงไปทั้งหมด เหมือนกับต้องการบอกคนดูว่า เลข 1,2,3,4,5 เมื่อนำมาบวกกัน มันอาจจะเหลือแค่ ศูนย์ ก็ได้ ก็เหมือนกับsequence ที่เราสร้างขึ้น จัดเรืยงไว้โดยมีผลลัพธ์ที่อยู่ในใจไว้แล้ว ซึ่งแม้มันอาจจะขัดกับความเป็นจริงก็ตาม

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Sequence

หลังจากที่ได้มีโอกาสได้ชมสารคดีของ Discovery ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ในอีก 400 ล้านปีข้างหน้า ทำให้คิดว่า วิวัฒนาการเป็นการจัดลำดับอย่างหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในอีก 400 ล้านปีข้างหน้า น่าจะเป็นการจัดลำดับเป็นไปอย่างคาดคะเน
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่ก็ได้ ซึ่งต่างจากการศึกษาสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีข้อมูลและหลักฐานที่รองรับแน่นอนและชัดเจนมากกว่า การจัดลำดับทางวิวัฒนาการจึงมีความแน่นอนมากกว่า เหมือนกับการที่เราเรียนรู้ในการในการนับ 1-10 ถ้ารู้จักตัวเลขทุกตัวแล้ว การจะคาดคะเนตัวที่นับต่อจาก 10
จึงไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งสิ่งนั่นไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม มันก็ยังเป็น sequence อยู่ดี

Gillette Campain


ลบความรกรุงรัง


ลบความเขียวครึ้ม


ลบความแห้งกร้าน


เป็นผลงานโฆษณาสินค้า มีดโกนหนวด Gillette ที่ต้องการพูดในเรื่องของ Lifestyle โดยสื่อความหมายที่ว่า แข็งแรงอย่างอ่อนโยน ตามสโลแกนของ Gillette โดยผลงานทั้ง 3 ชิ้น ต้องการเสนอในมุมมองที่นำมาจากสิ่งรอบตัว ความรกรุงรังจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัว นำมาเป็นจุดพูด และยังได้จัดทำบู้ตขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับผลงาน โดยนำเอารูปแบบของหนวดและผิวหนังมาดึงดูดความสนใจ ด้วยขนาดที่ใหญ่ดึงดูดสายตา

ภาพการจัดแสดงผลงานโฆษณา Gillette