วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน6 )

หลังจากที่ได้ศึกษาการทดลองคราวที่แล้วพบว่า ในเกมฟุตบอลมันมีทิศทางของแต่ละทีม เพราะต่างฝ่ายต่างต้องเข้าไปทำประตูฝ่ายตรงข้าม ฉะนั้นไดอะแกรมที่เกิดขึ้นในแต่ละจังหวะ ควรเป็นจังหวะในลักษณะการปะทะกัน คือวิ่งสวนทางกัน ซึ่งงานคราวก่อนจะเป็นในลักษณะขนาน ซึ่งไม่ตอบโจทย์นัก งานทดลองครั้งนี้จึงลงไปที่ time base media ซึ่งสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องกว่า

ผลงานทดลองที่1 ได้ทดลองสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ โดยการลากเส้นจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยแสดงให้เห็นถึงความหนาแน่นของเส้นในยริเวณต่างๆ ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของเวลาในการเล่น



ผลงานทดลองที่2 ได้ทดลองการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยลองเลือกช่วงเวลาหนึ่งของเหตุการณ์มาทดสอบ เพื่อบอกระยะทางความเชื่ิอมโยงภายในทีม ซึ่งยังคงใช้เรื่องของการวิ่งสวนทางในแต่ละทีม โดยผลที่ได้มาก็ทำให้เห็นว่า "เราไม่เห็นเส้นระยะที่เกิด แต่เราสามารถรู้สึกถึงระยะที่เกิดในนักเตะแต่ละคนได้"

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน5 )

ทดลองออกแบบจากระยะทางที่ได้จากเวลาใน90นาที
ผลงานทดลองชิ้นที่1


จากการทดลองชิ้นแรกได้ลองพับกระดาษโดยอาศัยระยะความห่างของนักเตะ โดยทำจนครบ90นาที โดยครึ่งบนจะเป็นทีมแมนยู(สีแดง) และครึ่งล่างจะเป็นทีมเชลซี(สีน้ำเงิน) โดยการเรียงจะอาศัยเรื่องของเวลาในการแขงขันเข้ามาใช้ ซึ่งแถบทั้งสองที่เกิดขึ้นจะอยู่ในระนาบของเวลาในช่วงต่างๆ ที่เป็นแนวเดียวกันไปตลอดจนครบ90นาที ซึ่งจากการทดลองทำให้เห็นความแตกต่างของแถบสีและการพับในแต่ละทีมและในแต่ละเวลาที่ดำเนินไป


ผลงานทดลองชิ้นที่2



ลองทำในมุมมองลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยนำฟอร์มของแถบที่เกิดขึ้นในทั้งสองทีมมาอยู่ติดกัน โดยแบ่งระยะเวลาโดยการพับเป็นหน้าๆ จนครบ90นาที โดยการทดลองอันนี้ได้นำความยาวของระยะทางทั้งหมดที่เกิดจากระยะทางของนักเตะมาใช้

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน4 )

หลังจากที่ได้ลองนำเรื่องเวลาในการเล่นฟุตบอลเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้มองเห็น sequence ในลักษณะที่เปลียนแปลงไปตามระบบของเวลา
Sequence เกิดการเคลื่อนที่ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ได้ดูการถ่ายทอดสดฟุตบอล ซึ่งผู้จัดการทีมก็ใช้ระบบการเล่นที่วางไว้ แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของนักเตะ จึงทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของระยะsequence ในทีม โดยนักเตะก็จะอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ผู้จัดการทีมวางแผนการเล่นไว้ให้
ระบบแผนการเล่นจึงเป็นเหมือนแนวทางในการเล่นโดยรวมมากกว่า ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวว่านักเตะคนนี้จะต้องเล่นอยู่ฝั่งนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์และสถานการณ์ที่เกิดในช่วงเวลานั้นๆมากกว่า
โดยขณะที่ได้ดูฟุตบอลนั้นก็ได้เห็นเพียง Sequence แค่ส่วนๆหนึ่ง เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกล้อง ซึ่งทำให้คิดว่าเราน่าจะสามารถเห็นระยะ Sequence ได้ทั้งหมด และได้ระยะทางที่แน่นอน จึงได้ไปพบกับเกมส์จำลองสถานการณ์ของการจัดการทีมฟุตบอล เลยคิดว่าจะนำส่วนนี้เข้ามาใช้ โดยที่ในตัวเกมนั้นเราจะสามารถมองเห็นภาพทั้งสนามเป็นมุมมอง90องศา ซึ่งเราก็จะสามารถวัดระยะในนักเตะแต่ละคนได้ จากนั้นได้ลองจับภาพในช่วงเวลาต่างๆใน90 นาทีของการแข่งขัน
ในขั้นตอนการทดลองก็เหมือนเป็นการยืมเรื่อง Random เข้ามาใช้ เพราะเราไม่สามารถรู้ว่าเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จนเมื่อเรานำข้อมูลจากเหตุการณ์ที่ได้มาจัดระบบขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างงาน sequence ขึ้นมานั่นเอง



วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน3 )

หลังจากที่ได้ลองคิดเรื่องระบบในตอนืี่2มาพอสมควร จึงมาคิดว่าเรื่องนี้น่าจะขยายขอบเขตไปได้อีก โดยอาศัยผู้ช่วยเบิร์ด
มาช่วยกันขยายขอบเขตของเรื่องนี้ โดยหลังจากที่ได้ลองวิเคราะห์ไดอะแกรมที่เกิดจากความเชื่อมโยงของตัวเลขกับแผนการเล่น
ซึ่งทำให้เห็นว่าไดอะแกรมนั้นมันเป็นไดอะแกรมที่อยู่ในช่วงก่อนการแข่งขันและอาจจะอยู่ในเพียงบางช่วงของการแข่งขันด้วยซ้ำ
ซึ่งลองมานั่งคิดถึงขอบเขตของฟุตบอล จึงได้เรื่องของระยะเวลาในการแข่งขัน ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ทำให้นึกถึงไดอะแกรมที่จะเปลี่ยนไป
เมื่ออยู่ในระหว่างการแข่งขัน เช่น 1. ทีมA ได้ลูกเตะมุม ลักษณะไดอะแกรมก็จะอยู่กันเป็นกระจุก 2.เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไม่ว่าจะกรณีใดๆก็ตาม
ผู้เล่นใหม่ที่ลงมาแทน จะทำให้ความเชื่อมโยงเดิมถูกเปลี่ยนทันที หน้าตาของไดอะแกรมก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
ซึ่งตรงจุดนี้เองเลยกลับมามองที่เวลาของการเล่นฟุตบอล ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ ครึ่งแรก 45 นาที พักครึ่งแรก 15 นาที ครึ่งหลังอีก 45 นาที ( อาจมีทดเวลาบาดเจ็บแล้วแต่กรณี ) ซึ่งตรงส่วนนี้ ก็เป็นการแบ่งเวลาในเกมฟุตบอล ซึ่งผมก็ลองมามองดูนาฬิกาซึ่งเดินเป็นวงกลม โดยที่ในเกม1เกมการแข่งขันเข็มยาวก็จะหมุนทั้งหมด2รอบนับจากจุดเริ่มต้น จึงคิดว่าถ้าเราสามารถบอกความแตกต่างของสัดส่วนของไดอะแกรมในแต่ละนาที โดยที่อยู่บนพื้นฐานการเดินของนาฬิกาแบบเข็ม เราอาจจะได้ความสมบูรณ์ในเกมฟุตบอล1เกมขึ้นมาก็ได้

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล ( ตอน2 )

ถ้าเกิดมีการแข่งขันกันขึ้นโดยทั้ง2ทีมก็ใช้แผนการเล่นของตัวเองจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ก๋ได้นำระบบการเล่นของทั้งสองทีมมายืนในตำแหน่งของตัวเอง
โดยทั้งสองทีมจะอยู่คนละด้านของสนาม



หลังจากที่ได้ทดลองวางตำแหน่งในสนามฟุตบอลของทั้งสองทีมทำให้ได้พบว่า มีการประกบตัวผู้เล่นซึ่งกันและกันตามตำแหน่งของผู้เล่นนั้นๆ
เช่นตำแหน่งปีกซ้ายของทีมแมนยู ในตลอดทั้งเกมการเล่นก็จะต้องเจอกับผู้เล่นปีกขวาจากทีมเชลซีมากกว่าผู้เล่นคนอื่น เนื่องจากอยู่ในระยะใกล้กันมากกว่า ซึ่งข้อมูลที่ได้มาก็จะนำไปคิดต่อเพื่อตอบเรื่องไดอะแกรมที่ได้ในทีมทั้งสองทีม โดยในการโพสครั้งนี้ก็ได้เรื่องตำแหน่งการปะทะของตัวผู้เล่นของทั้งสองทีมเพิ่มมา

ความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอล

หลังจากที่ได้ลองทำเรื่องระบบแผนการเล่นฟุตบอลกับจำนวนเฉพาะมาพอสมควร เลยคิดว่าในทีม1ทีมมีผู้เล่น11คน เพราะฉะนั้นถ้าเรามามัวแต่สนใจเรื่องจำนวนเฉพาะอย่างเดียวอาจทำให้เรื่องของความสมบูรณ์ในทีม1ทีม นั้นหายไป เลยคิดว่าจะใช้เรื่องของความเขื่อมโยงที่มีเรื่องของระยะทางระหว่างตัวเลขและตำแหน่งการยืนมาใช้เหมือนเดิม โดยที่ในตอนนี้จะครอบคลุมผู้เล่นทั้งทีม

จากภาพเป็นไดอะแกรมความเชื่อมโยงระหว่างเบอร์เสื้อนักเตะกับแผนการเล่นในทีมฟุตบอลแมนยูและเชลซี




และหลังจากนั้นได้ลองนึกถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสนาม ก็ได้พบว่าสนามมีที่นั่งคนดูทั้งหมด4ด้าน ซึ่งก็ได้ลองจำลองภาพที่เกิดจากการมองในทิศต่างๆ